ภาคเหนือ
จังหวัดพิษณุโลก

ถ้ำผากระดานเลข

ที่ตั้ง 

บ้านหินลาด ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

พิกัดทางภูมิศาสตร์ 

เส้นรุ้งที่ 17o 20′ 00″ เหนือ เส้นแวงที่ 100o 42′ 00″ ตะวันออก

สถานที่ตั้ง 

สภาพที่ตั้ง

อยู่บนไหล่เขาด้านทิศตะวันออกของเขาหวด เขานม ห่างจากจังหวัดพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 50 กม.

การค้นพบ

เมื่อ พ.ศ. 2537 นายเอกสิทธิ์ อยู่พิทักษ์สกุล กับชาวบ้านอำเภอวังทองได้ไปพบภาพสลัก และได้ลงข่าวการค้นพบนี้ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (27 ธันวาคม 2537) และหน่วยศิลปากรที่ 3 สุโขทัย ได้ไปทำการสำรวจ

หลักฐานทางโบราณคดี

ไม่พบ

ลักษณะของถํ้าและภาพเขียนสี

เป็นก้อนหินทรายขนาดยาว 15 เมตร สูงประมาณ 6-7 เมตร สองก้อนพิงกันอยู่บนไหล่เขา ตามแนวเหนือ-ใต้ ภาพที่ปรากฏเป็นภาพสลักลงรูปรอยฝนเป็นร่องลงบนหิน บนผนังเพิงหินด้านทิศใต้ ยาวประมาณ 12 เมตร สูงจากพื้น 1 เมตร ลักษณะของภาพเป็นรูปเส้นตรงเรียงแถว รูปสามเหลี่ยมมีเส้นตัดกลาง หรือเส้นอื่นๆ ภายในรูปกากบาท รูปตัว v^  และอื่นๆ อาจมีภาพสลักรูปปลา ภาพมือ ด้วย

สภาพที่ตั้ง

เป็นโพรงถ้ำริมหน้าผา ปากโพรงกว้างประมาณ 2.5 เมตร สูงประมาณ 3.3 เมตร แผ่นหินที่มีภาพสลักตั้งเอียงประมาณ 45 องศา ขวางปากถ้ำทำให้แบ่งโพรงถ้ำออกเป็น 2 คูหา แผ่นหินหรือกระดานหินนี้เป็นหินทรายสีเทาอมแดง
(dark reddish gray)

ภาพเกิดจากการตอกสกัดลงไปในเนื้อหินทรายด้วยเครื่องมือทำด้วยโลหะปลายแหลม เมื่อเป็นภาพตามต้องการแล้ว จึงขัดฝนผิวหน้าหินให้เรียบเสมอกัน ภาพสลักที่ได้เป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือ ทำเป็นหลุมกลมๆ มีหลายขนาดเรียงเป็นแถว 12 หลุม

มีบางท่านคิดว่าภาพที่เห็นนั้นน่าเป็นภาพคน ประมาณ 15 คน แสดงอาการเคลื่อนไหว ภาพสัตว์ ส่วนหลุมกลมๆเหล่านั้น จะมีความหมายถึงอะไร? เป็นสัญลักษณ์แทนอะไร? นั้นยังไม่สามารถแปลความหมายได้ ซึ่งอาจแสดงถึงความคิดในการรู้จักการนับ ? ก็อาจเป็นไปได้

Scroll to Top